Archive | มิถุนายน 20, 2012

กิจกรรมเด็กประถม

   แบบฝึกหัดชั้น ป.1

   แบบฝึกหัดชั้น ป.2

   แบบฝึกหัดชั้น ป.3

   แบบฝึกหัดชั้น ป.4

   แบบฝึกหัดชั้น ป.5

   แบบฝึกหัดชั้น ป.6

 

เกมต่อจุด      ใบงานศิลปะ     ภาพวาดระบายสี

การคิดแบบหมวก 6 ใบ

ทฤษฎีการคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six thinking hats)

จากแนวคิดของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน (Dr.Edward de Bono) เจ้าของความคิดแบบคู่ขนาน (parallel thinking) โดยยึดหลักที่ว่า.. อย่าเอาความเห็นที่ขัดแย้งมาปะทะกัน ให้วางเรียงขนานกันไว้ แล้วประเมินผลได้ผลเสีย..อย่างเป็นระบบ

สาระสำคัญของการคิดแบบคู่ขนานคือ

อาจจะมีบางเวลาที่ทุกๆ คนกำลังมองไปในทิศทางเดียวกัน แต่เราก็เปลี่ยนทิศทางนั้นได้ คนๆ หนึ่งอาจจะถูกมองไปในทางเหนือ หรือมองไปทางทิศตะวันออก นั่นเป็นชื่อของทิศทางตามมาตรฐานเท่านั้น เราจำเป็นต้องมีชื่อทิศทางในการคิด ในหลายๆ วัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นมากระหว่างการคิด และ “หมวกคิด” คุณค่าของหมวกในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ในการคิดนี้ก็คือ มันกำหนดบทบาทของผู้สวม ซึ่งหมวกทั้ง 6 ใบ 6 สีจะเกี่ยวเนื่องกับการคิดได้แก่ สีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีเขียว และสีฟ้า

หนึ่งครั้งหนึ่งเรื่อง
ความสับสนเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของการคิดที่ดี เราพยายามทำหลายสิ่งหลายอย่างมากเกินไป ในเวลาเดียวกัน เรามองหาข้อมูล เราได้รับผลกระทบจากความรู้สึกของเรา เราแสวงหาความคิดใหม่ๆ และทางเลือกใหม่ แล้วเรายังต้องระมัดระวัง เราอาจเห็นประโยชน์ที่อาจมีอยู่ นั่นคือ หลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องทำระหว่างการคิด การโยนรับสับเปลี่ยนหกลูกในเวลาเดียวกันเป็นเรื่องยาก ลูกเดียวต่อครั้งง่ายกว่ามาก
ด้วยวิธีการคิดแบบหมวกนี้ เราพยายามทำเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นในแต่ละครั้ง ครั้งหนึ่งเราอาจจะมองหาอันตรายที่อาจมีอยู่ (หมวกดำ) อีกครั้งหนึ่งเราแสวงหาความคิดใหม่ๆ (หมวกเขียว) และอีกบางครั้งที่เราสนใจข้อมูล (หมวกขาว) เราจะไม่พยายามทำทุกย่างในเวลาเดียวกัน เวลาเราทำงานพิมพ์สี (สมัยก่อน) สีแต่ละสีจะพิมพ์แยกกันทีละครั้ง ทีละสีและสุดท้ายเราก็ได้รับงานผลรวมเป็นงานพิมพ์สีที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับความคิดแบบหมวกทั้งหก เราทำแต่ละเรื่องในแต่ละครั้ง และสุดท้ายภาพที่เต็มสมบูรณ์ก็จะปรากฏภายใต้เรื่องราวทั้งหมด นี้คือความจำเป็นทางจิตวิทยาที่ต้องแยกความคิดแต่ละแบบออกจากกัน

หมวกหกใบหกสี
แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหก..จะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือ ชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วย

สีขาว : สีขาวเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง : สีแดงแสดงถึง ความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ : สีดำคือ ข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง : ให้ความรู้สึกในทางที่ดี สีเหลืองเป็นมุมมองทางบวก ให้ความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
สีเขียว : หมายถึง ความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า : หมายถึง การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ…

รูปแบบการสอน

รูปแบบการสอน หมายถึง แผนการทำงานเกี่ยวกับการสอนที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยวางแผนการจัดองค์ประกอบและงานเกี่ยวกับการสอน อย่างมีจุดหมายที่เฉพาะเจาะจงที่จะให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความหมายของรูปแบบการสอน
ในทางศึกษาศาสตร์ มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน Model of Teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบ การจัดการเรียนการสอน Instructional Model หรือ Teaching-Learning Model คำว่า รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้

(๑) รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมีจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
(๒) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบ

การสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุ
วัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น ๆ กำหนด

(๓) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน สำหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกัน ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน และการวัดและประเมินผล

คำว่ารูปแบบการเรียนการสอน หรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง โครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในการเรียนการสอน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการสอน การประเมินผล รวมทั้งกิจกรรมสนับสนุนอื่น ๆ โดยผ่านขั้นตอนตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

(๒) รูปแบบการเรียนการสอน เป็นโครงสร้างที่ใช้เป็นแนวในการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน

การสอน

จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ พบว่านักการศึกษาไทยส่วนใหญ่ใช้คำว่า รูปแบบการสอน มากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนและรูปแบบการจัดการเรียน

การสอน